The Institute and Electrical and Electronics Engineers ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด จัดแข่งขันนวัตกรรมไอทีระดับนานาชาติ Youth Endeavors for Social Innovation Using Sustainable Technology (YESIST12) เป็นครั้งแรก มีเยาวชนและนักศึกษากว่า 500 คนจาก 19 ประเทศทั่วโลก ร่วมโชว์นวัตกรรมสุดยอดไอเดีย
วันที่ 7 กันยายน 2562 มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตหัวหินชะอำ จังหวัดเพชรบุรี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันนวัตกรรมไอทีระดับนานาชาติ Youth Endeavors for Social Innovation Using Sustainable Technology หรือ IEEE YESIST12 ซึ่งปีนี้ ประเทศไทย และประเทศอินเดีย ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ โดยพิธีเปิดในครั้งนี้มีขบวนเชิญธงนานาชาติของผู้เข้าแข่งขัน จำนวน 19 ประเทศ คือ ประเทศไทย อินเดีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา ลาว ปากีสถาน อียิปต์ เคนยา เกาหลีไต้ กัมพูชา ไนจีเรีย ยูกันดา มาเลเชีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน และพม่า เข้าสู่หอประชุม โดยมีนายกอบชัย บุณรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยหอการค้าเพชรบุรี,หอการค้าประจวบคีรีขันธ์,สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน/ชะอำ ฯลฯ เข้าร่วมพิธีเปิด
ดร.แอนดรูว์ สกาวน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด กล่าวว่า การแช่งขันนวัตกรรมไอทีระดับนานาชาติ IEEE YESIST12 เป็นเวทีแสดงความสามารถ นวัตกรรมเทคโนโลยีระดับนานาชาติของเยาวชนและคนรุ่นใหม่ที่ศักยภาพด้านการพัฒนานวัตกรรม เริ่มจัดขึ้นครั้งแรกที่มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอมริกา ซึ่งจัดขึ้นในประเทศต่างๆ เป็นประจำทุกปี โดยปีนี้มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด วิทยาเขตหัวหิน-ชะอำ ได้รับเกียรติร่วมจัดงานและสนับสนุนสถานที่ในการจัดการ และมีผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่การคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้ายกว่า 500 คน อายะ 10-25 ปี โดยในปีนี้กำหนดหัวข้อ “การเตรียมตัวเพื่ออนาคต:เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน”มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมที่ยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาในสังคมใกล้ตัว ทั้งด้านมนุษยธรรม ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม อาทิ ความยากจน ความอดอยาก การคาดการณ์ภัยพิบัติ โรคภัย ความปลอดภัยของผู้หญิงและเด็ก การจัดการทรัพยากรของชาติ เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขงสหประชาชาติ
ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันเราทุกคนอาศัยอยู่ในช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่โลกเชื่อมต่อกันมากขึ้นกว่าเดิม ง่ายขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่เทคโนโลยีระบบเครือข่ายมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สิ่งที่สำคัญคือการตระหนักถึงบทบาทของระบบไอซีทีและซอฟต์แวร์ในการรองรับการเติบโตในด้านต่างๆ สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ไอซีที และระบบชอฟต์แวร์ สามารถจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับในหลายๆด้านของเศรษฐกิจและชุมชน เวทีการแข่งขันในวันนี้เปิดโอกาสให้ทั้งเยาวชนรุ่นเยาว์ จนถึงคนรุ่นใหม่ที่มีสติปัญญาล้ำเลิศได้ระดมความคิดใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญค้นเทคโนโลยีประเภทต่างๆสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ นำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ
สำหรับการแข่งขัน นวัตกรรมไอทีระดับนานาชาติในครั้งนี้ มี 5 ประเภทการแข่งขัน ทีมละ 4 คน เพื่อการประดิษฐ์คิดค้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ชอฟต์แวร์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี แนวคิดใหม่ๆ 1. Innovation Challenge (เฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัย) 2. Maker Fair (ประชาชนทั่วไป) 3. Junior Einstein (เยาวชนอายุ 8-17ปี) 4. Wepower (เฉพาะผู้แข่งขันหญิง) 5. Virtual Track (เป็นการนำเสนอแนวคิดผ่านออนไลน์ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถดินทางมายังประเทศไทยได้) ชิงรางวัลรวมทั้งสิ้นกว่า 8,000 เหรียญดอลล่าห์สหรัฐ (เกือบ 300,000บาท) โดย 77ข่าวเด็ด