Stamford and Vaughn

เรียน 5 ปีได้ 2 ปริญญา แสตมฟอร์ดเคาะหลักสูตรพิเศษเพื่อธุรกิจการบิน

บทความจาก MaketingOops.com

มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด (Stamford International University) ได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ วอห์น คอลเลจ (Vaughn College) วิทยาลัยจากนิวยอร์ก สหรัฐฯ ในวิชาสาขาการจัดการธุรกิจการบิน โดยความร่วมมือครั้งนี้นักศึกษาแสตมฟอร์ดจะสามารถเดินทางไปเรียนต่อยังสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี และที่สำคัญ นักศึกษายังจะได้รับปริญญาบัตร 2 ใบ จากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และจากวอห์น คอลเลจ ภายในเวลาไม่ถึง 5 ปี

ด้วยโมเดลการศึกษาใหม่ที่น่าสนใจยิ่ง และยังนับเป็นครั้งแรกของสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบินในวงการศึกษาไทยที่ให้โอกาสเรียนต่อต่างประเทศในระยะเวลาอันสั้นแต่ได้ถึง 2 ปริญญา ที่สำคัญยัง ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการบินไทย ที่ตอนนี้ขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อย่างยิ่งอีกด้วย เราจึงขอโอกาสตัวแทนจากทั้งแสตมฟอร์ดและวอห์นฯ มาให้รายละเอียดในหลักสูตรนี้

มร.คอลลิน พินโต รักษาการคณบดี คณะการบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิททยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด กล่าวถึงความร่วมมือนี้ว่าหลักสูตรบริหารธุรกิจสาขาการจัดการธุรกิจการบินของมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ดเราเป็นหลักสูตรที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่เราก็มีความตั้งใจที่จะคิดและพัฒนาหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าเดิม แต่ว่ามันจะไปในทิศทางใด ทางคณะผู้บริหารและอาจารย์ต่างก็มาคิดกันว่าถ้าเป็นเรื่องความร่วมมือด้านวิชาการกับสถาบันต่างประเทศน่าจะเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งเราพบว่า วอห์น คอลเลจ เป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการบินและได้รับการยอมรับในระดับโลก ทำให้เราตัดสินใจที่จะเลือกวอห์นฯ มาเป็นพันธมิตรด้านวิชาการในเรื่องนี้ รวมทั้งร่วมกันวางหลักสูตรต่างๆ ร่วมกันจนออกมาเป็นหลักสูตร 2 ปริญญาอย่างที่ทราบกัน

สำหรับหลักสูตรดังกล่าว จะใช้เวลาเรียนที่แสตมฟอร์ดเป็นเวลา 3.5 ปี แล้วจะได้ไปเรียนต่อที่วอห์นฯ ที่นิวยอร์กอีก 8 เดือน (หรือประมาณ 1 ปีในกรณีที่นักศึกษาฝึกงานที่นิวยอร์ก) รวมเวลาแล้วเรียนเพียงแค่ 4.5 ปี แต่ได้รับใบปริญญาถึง 2 ใบในเวลาที่สั้นมาก และไม่เคยมีหลักสูตรบริหารธุรกิจการบินลักษณะนี้ในประเทศไทยมาก่อน

มร.พินโต กล่าวด้วยว่า นอกเหนือจากการได้สองปริญญาในเวลาอันสั้นแล้ว มากไปกว่านั้นคือการพัฒนาทักษะด้านภาษาและประสบการณ์ในการใช้ชีวิตยังต่างแดน ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากมากกว่าที่เรียนในหลักสูตรเสียอีก

นอกเหนือจากการได้ 2 ปริญญาในเวลาอันสั้นแล้ว อีกสิ่งที่ช่วยนักเรียนได้ก็คือ เรื่องของการโอนหน่วยกิตระหว่างกัน ซึ่งนักเรียนสามารถเอ็กซ์เชนจ์หน่วยกิตของแสตมฟอร์ดเพื่อไปใช้เรียนที่วอห์นฯ ได้ เช่นเดียวกันหน่วยกิตของวอห์นฯ ก็สามารถโอนมายังแสตมฟอร์ดได้ ส่วนประโยชน์อื่นๆ ของความร่วมมือนี้ ยังรวมไปถึงเรื่องทุนการศึกษา และการช่วยกันดูแลการใช้ชีวิตของนักเรียนไทยที่นิวยอร์กอีกด้วย เรียกว่าเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของนักเรียนโดยแท้จริง

ที่สำคัญสิ่งที่ มร.พินโต ย้ำก็คือ เรื่องที่หลักสูตรนี้สามารถตอบโจทย์ตลาดแรงงานด้านธุรกิจการบินของไทยได้ โดยระบุว่า เพราะว่าการวางหลักสูตรของเราเน้นเรื่องของการผลิตบุคลากรเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานอยู่แล้ว หลักสูตรนี้โฟกัสไปที่อุตสาหกรรมการบินโดยตรง เราเน้นทั้งการปฏิบัติฝึกจริงทดลองทำงานจริงไม่ใช่แค่เรื่องทฤษฎี ทำให้นักเรียนของเราที่จบออกไปแล้วมีงานทำกันทุกคน

และไม่เฉพาะแค่สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน แต่ยังรวมไปถึงสาขาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยด้วย เช่น การจัดการโรงแรมนานาชาติ การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ Entrepreneurship หรือ Creative Media Design ฯลฯ คือทั้งหมดนี้ เราดีไซน์มาเพื่อรองรับตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้น อยากให้นักเรียนมั่นใจได้ว่า ทุกหลักสูตรของเราตอบโจทย์ทั้งความต้องการของนักเรียนและของตลาดแรงงานอย่างแน่นอน

ด้าน มร.โดมีนิก โปรสเซีย Vice President of Training ตัวแทนจาก วอห์น คอลเลจ กล่าวแสดงความยินดีกับความร่วมมือนี้ว่า เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นยินดีอย่างมากที่เราวอห์น คอลเลจ ได้ร่วมกันทางด้านวิชาการกับแสตมฟอร์ด และมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ต้อนรับนักเรียนไทยไปเรียนที่สหรัฐฯ

สำหรับวอห์น คอลเลจนั้น เราเป็นวิทยาลัยเก่าแก่ก่อตั้งมานานแล้วกว่า 85 ปี มีหลายหลักสูตรเป็นที่ยอมรับ รวมถึงหลักสูตรด้านวิศวกรรมและธุรกิจการบินด้วย นอกจากนี้ เรายังเป็นอันดับ 1 ในสหรัฐฯ (New York Times, 2017) ด้านการยกระดับสถานะทางสังคมของบัณฑิตหลังเรียนจบ (Upward Mobility) หมายถึง เมื่อบัณฑิตของเราจบออกมา นอกจากจะมีงานทำแล้ว ยังได้เงินเดือนดี และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเจตนารมณ์นี้ สอดคล้องกับแสตมฟอร์ดที่มุ่งหวังให้นักเรียนทุกคนจบออกมาแล้วมีงานทำและได้เงินเดือนดี

นอกจากนี้ ในฐานะอาจารย์ผู้สอน อ.รุ่งแก้ว เกตุแก้ว ผู้อำนวยการสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน ได้กล่าวถึงรายละเอียดลึกลงไปอีกถึงหลักสูตรพิเศษนี้ว่า ทั้งเรา (แสตมฟอร์ด) และวอห์นฯ ต่างก็เป็นสถาบันในเครือลอรีเอท (Laureate International Universities) ซึ่งมีแนวคิดว่าอยากให้เกิดความร่วมมือกันทางวิชาการของมหาวิทยาลัยในเครือ และก็ตรงกับเป้าประสงค์ของแสตมฟอร์ดพอดีที่กำลังมองหาพันธมิตรกับมหาวิทยาลัยด้วยกัน อยากให้นักเรียนได้ไปเรียนต่อหรือเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเราก็มองว่า ตอนนี้ธุรกิจการบินบ้านเรากำลังบูมมาก โดยพันธมิตรสถาบันที่มีความแข็งแกร่งตรงจุดนี้ที่สุดก็คือ วอห์น คอลเลจ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน

“ที่สำคัญคือ หลักสูตรของเรารอบด้านครอบคลุมแทบจะทุกมิติเกี่ยวกับด้านการบินและท่าอากาศยาน ไม่เฉพาะแค่จบออกไปเป็นแอร์โฮสเตสหรือสจ๊วตเท่านั้น แต่คือการเน้นเรื่องของการจัดการบริหารธุรกิจการบินและทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบิน ไม่ว่าจะเป็น Air Traffic Control  หรือการเป็น Dispatcher ที่ดูแลไฟลท์ ซึ่งมุมมองคนข้างนอก จะไม่ค่อยรู้รายละเอียดตรงนี้ ว่ามันมีอาชีพอื่นอีกเยอะแยะมากมายที่ทำตรงนี้ได้”

อ.รุ่งแก้ว ขยายความว่าการทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลเที่ยวบินที่ทำงานภาคพื้น เช่น Dispatcher  ตอนนี้ตลาดขาดบุคลากรในส่วนนี้มาก เพราะว่านอกจากจะเข้าเรียนยากแล้ว ค่าใช้จ่ายก็ค่อนข้างสูง ทำให้ผลิตบุคลากรออกมาไม่ทันกับความต้องการของตลาดที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันก็ยังไม่มีการเรียนนี้ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ยกเว้นในระดับปริญญาโท) แต่ทางแสตมฟอร์ดเรามีการเรียนการสอนแล้วในระดับปริญญาตรี จบในเวลาอันรวดเร็ว

“เรามีคอร์ส Ultra Light Pilotเรียกว่าเป็นช้อตคัทที่ผู้เรียนไม่ต้องไปรอคิวยาวๆ แต่ได้ไลเซ่นส์ ตรงตามกฎการบินพลเรือนเลย พูดง่ายๆว่า ได้มาตรฐานทุกอย่างแต่ในเวลาที่สั้นกว่าและประหยัดกว่าในทุกๆ ด้าน”

คือในตลาดแรงงานตอนนี้คนเยอะมาก และการแข่งขันมันสูงมาก ทั้งนักบิน ทั้ง Cabin crew เด็กเราก็ต้องไปคอยสมัครกับสายการบินต่างชาติ ซึ่งมันก็คือสมองไหล แต่ถ้าเรามีหลักสูตรอย่าง 2 ปริญญาแบบนี้ ปัญหาตรงนี้ก็จะลดน้อยลง เด็กก็จะกลับมาใช้ความรู้และทักษะที่มีมาใช้กับประเทศเรา สังเกตไหมว่าสุวรรณภูมิเราจะไม่มีต่างชาติมาทำงานเลย คนไทยทั้งนั้น เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์ก็จะไม่ใช่คนต่างชาติทำงานที่สนามบิน ดังนั้น เราจึงมองภาพกว้างตรงนี้ว่า เราต้องการที่จะสร้างให้เยาวชน หรือบุคลากรกลับเข้ามาทำงานในประเทศ ไม่คิดอยากจะไหลไปทำงานต่างประเทศ อยากให้ใช้ความรู้และทักษะมาทำให้กับประเทศ มาตรงนี้ยังมีงานอีกเยอะแยะรอเขาอยู่

ด้วยการวางหลักสูตรที่ครอบคลุมรอบด้าน จึงทำให้นักศึกษาที่จบจากหลักสูตรการจัดการธุรกิจการบินของแสตมฟอร์ดจบออกมามีงานทำกันทุกคน อ.รุ่งแก้ว ยืนยันเรื่องนี้ว่า เป็นเพราะเราวางหลักสูตรตรงเป้าตอบโจทย์กับตลาดแรงงานตั้งแต่ต้น แน่นอนว่าความแข็งแกร่งอย่างแรกที่นักศึกษาที่นี่มีคือทักษะทางด้านภาษา แต่ในเรื่องอื่นๆ เด็กของเราก็ทำได้ เช่นเรื่องของการครอสคัลเจอร์ เรื่องมารยาท การรักษากฎ การตรงต่อเวลา เหล่านี้ทำให้หลายที่รีเควสและต้องการนักศึกษาของเราไปฝึกงานมากมาย เพราะชอบในการวางตัว พฤติกรรม ทักษะและการทำงานด้วย

“สิ่งแรกที่เราให้ความสำคัญเลยคือเรื่องของการ ‘เคารพกฎ’ เด็กที่นี่จะถูกสอนให้ยึดกฎกติกาเป็นหลัก เราได้สร้าง Mind Set เรื่องนี้ไว้เป็นสำคัญ เพราะการที่นักศึกษาจะจบออกไปเพื่อสร้างประเทศ จะต้องเริ่มจากการมีกฎระเบียบมีวินัยเป็นของเราเอง แล้วมันจะทำให้ทุกอย่างมันพัฒนาได้ เราเชื่อตรงนั้น เราอยากจะเป็นเบ้าเล็กๆ เราอาจจะเป็นเพียงมหาวิทยาลัยเอกชนเล็กๆ แต่เราสามารถที่จะสร้างมาตรฐานยกระดับบุคลากรของไทยให้มีมาตรฐานที่ดีได้เราก็หวังไว้เช่นนั้น”

เชื่อว่าโมเดล 2 ปริญญาในเวลาไม่เกิน 5 ปี น่าจะเป็นโมเดลทางการศึกษาที่จะช่วยตอบโจทย์ทั้งตัวผู้ศึกษาและตลาดแรงงานได้ในอนาคต ซึ่งมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด นำทางให้เราเห็นแล้วมันเป็นไปได้และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย.

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes:

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>