Airline Business Secret

ไขความลับสู่ธุรกิจ Airline จากรุ่นพี่สาขาการจัดการธุรกิจการบิน

ปริญญา นภากร : สาขาการจัดการธุรกิจการบิน – Airline Business Management

ABM

โตขึ้นผมอยากเป็นนักบิน หนูอยากเป็นแอร์โฮสเตส’ นี่อาจจะเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายๆ คนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของการนำผู้โดยสารโบยบินบนท้องฟ้าไปยังจุดหมายอย่างปลอดภัยแต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายหน้าที่ ที่จำเป็นต่อการจะนำเครื่องบินสักลำแล่นขึ้นจากรันเวย์ บินไปบนฟ้าและส่งผู้โดยสารไปยังจุดหมายได้อย่างปลอดภัย เราต้องมีคนคอยให้บริการผู้โดยสารที่ภาคพื้นดิน เราต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลสัมภาระ เราต้องมีคนที่คอยให้คำแนะนำนักบินจากหอบังคับการบิน เราต้องมีผู้ที่คอยวางแผนเส้นทางการบิน และเราต้องมีช่างซ่อมบำรุงเครื่องบิน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหากขาดใครคนใดคนหนึ่งเหล่านี้ไป เครื่องบินจะไม่สามารถขึ้นบินอย่างปลอดภัยได้เลย ทุกๆ หน้าที่ต่างมีความสำคัญไม่แพ้กัน

ทำไมถึงเลือกเรียนธุรกิจการบินที่แสตมฟอร์ด

ผมเป็นคนที่ชอบภาษาอังกฤษอยู่แล้วตั้งแต่ม.ปลาย เลยมองหามหาวิทยาลัยที่มีภาคอินเตอร์ ก็ดูไว้หลายที่ จนมาเจอมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เพราะผมเคยเข้ามาที่มหาวิทยาลัยแล้ว  ผมจบมาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ซึ่งโรงเรียนจะอยู่ใกล้กับแสตมฟอร์ด หลังเลิกเรียนผมก็จะเดินเข้าไปในมหาวิทยาลัย ไปดูว่าตรงไหน คณะไหนที่เป็นตัวเราที่สุด ผมรู้สึกว่าที่แสตมฟอร์ด ผมเป็นตัวของตัวเองที่สุด ก็เลยเลือกที่จะเรียนที่นี่  และอีกหนึ่งเหตุผลก็คือเมื่อเข้ามาในมหาวิทยาลัย เหมือนเราหลุดเข้าไปอยู่อีกโลกหนึ่งไปเลย เหมือนไม่ใช่ในประเทศไทย เป็นสังคมใหม่สำหรับตัวเรา เหมือนเราได้ไปเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ

ปรับตัว เตรียมใจ สู่รั้วมหาวิทยาลัย

ตอนแรกพี่ต้องเรียนปรับภาษาประมาณ 3 เดือน เพราะผมค่อนข้างอ่อนด้านการพูดกับการฟัง เข้ามา ปี 1 ก็ต้องเรียนวิชา Business ก่อน ผมค่อนข้างที่จะปรับตัวยาก เพราะการเรียนการสอนไม่เหมือนกับตอนที่เราเรียน ม.ปลาย คือ ต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก ไม่มีคนมาคอยผลักดันตลอดเวลา เราต้องโตขึ้น  ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองหลายๆ อย่าง แต่เราก็ได้พัฒนาความสามารถด้านภาษามากขึ้นเพราะมีเพื่อนชาวต่างชาติค่อนข้างเยอะ

ภาพรวมการเรียนตั้งแต่ปี ถึงปี 3

ตอนปี 1 มีวิชา Airline ที่เป็นวิชา ABM 201 ที่เรียนทุกอย่างที่เกี่ยวกับการบินว่ามีอะไรบ้างแต่ไม่ได้ลงลึก เป็นวิชาพื้นฐาน ส่วนในปีถัดๆ ไปก็จะเริ่มลงลึกวิชาที่เป็น  Airline  มากขึ้น วิชาที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางด้านการบิน และวิชาเกี่ยวกับ Aircraft

ในช่วงปี 2 ถ้าใครสนใจอยากจะเป็นนักบินในอนาคตก็จะมีคอร์ส ที่เป็นการขับเครื่องบินแบบจริง คือเรียนแบบ  Ground School  มีการเรียนขับเครื่องบินที่สนามบิน อยากจะบอกว่าแสตมฟอร์ดได้เซ็นสัญญาร่วมกับสถาบันสอนขับเครื่องบินเบาพิเศษ (The Light Aircraft for Leisure Association Flying Club (LAAF)) เราจะได้เรียนกับนักบินมืออาชีพที่ชำนาญด้านการบิน แล้วก็จะได้ใบอนุญาตนักบินอากาศยานเบาพิเศษหลังจบหลักสูตรอีกด้วย

ส่วนปี 3 ค่อนข้างที่จะเรียนหนักพอสมควร เน้นวิชาด้านการบริหาร พวกวิชาการจัดการความเสี่ยง แล้วก็วิชาประกันคุณภาพของ Airline การวัดคุณภาพ ISO เหมือนเป็นการวัดคุณภาพองค์กร

ธุรกิจการบินที่แสตมฟอร์ด ต่างจากที่อื่นยังไง

อย่างแรกเลยก็คือ การบิน เป็นเรื่องที่มาคู่กับภาษา ต้องทำงานร่วมกับคนจากทั่วทุกมุมโลกอยู่แล้ว มันเชื่อมกันด้วยภาษา ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นจุดเด่นของแสตมฟอร์ดก็คือเรื่องของภาษา และอาจารย์ผู้สอนก็มีประสบการณ์ตรงจากภาคอุตสาหกรรม เราได้เรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์การทำงานจริงๆ ซึ่งเทอมนี้วิชา In-Flight Management มีอาจารย์มาจากออสเตรเลีย ผมคิดว่าการได้เรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง ก็จะสามารถถ่ายทอดออกมาได้ดีกว่า และสามารถอธิบายได้ชัดเจนและเห็นภาพจริงๆ

แนะนำน้องๆที่จะเข้าเรียนสาขานี้ในภาคอินเตอร์

ผมว่าภาษาเป็นปัจจัยหลักในการทำงานในอุตสาหกรรมการบิน ไม่ว่าเราจะอยู่ประเทศไหน ทำงานอะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพื่อใช้ในการสื่อสาร สำหรับนักบินเอง ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร เพราะเราไม่ได้ติดต่อแค่ในประเทศเท่านั้น แต่เราติดต่อกับคนทั่วโลก และผมคิดว่ามันสำคัญมาก ๆ ที่เราเลือกเรียนการบินและเรียนภาษาอังกฤษควบคู่กันไปด้วย หากเรามีความรู้ด้านการบินแต่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ ก็อาจจะทำงานไม่ได้ เพราะทุกอย่างมันเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย

ประสบการณ์ part time
ผมเป็นแฟนคลับเพจพี่ช้าง (Chang Trixget)  ซึ่งผมเป็นคนที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวอยู่แล้ว และชื่นชอบการดูโปรโมชั่นของสายการบิน แล้วประกอบกับที่เขาเปิดรับสมัคร ผมก็เลยเข้าไปสัมภาษณ์ แล้วก็ได้ร่วมงานกับเขา การทำงานในครั้งนี้ถือว่าผมได้นำความรู้ที่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยไปใช้ในการทำงาน เช่น วิชา Airline Business Management ที่เรียนตอนปี 1จะมีการจำโค้ดสนามบิน โค้ดประเทศ เช่น ประเทศไทยมี 2 สนามบิน  คือ สนามบินสุวรรณภูมิ จะเป็น BKK ส่วนสนามบินดอนเมืองเป็น DMK เวลาเราไปทำงานกับเพจพี่ช้าง เราก็จะทำงานได้อย่างราบรื่น เพราะเวลาเราคุยกันในบริษัทก็จะใช้เป็นตัวย่อในการพูดคุย เพื่อความเข้าใจและประหยัดเวลา

Airlineการฝึกงาน
พอดีมีงาน Job fair มาจัดงานที่มหาวิทยาลัย ผมก็ลองไปสมัครดู แล้วก็ไปสัมภาษณ์  ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเข้าฝึกงาน ตอนนี้ผมได้ที่ฝึกงานในตำแหน่ง Flight Dispatcher อยู่ที่ Bangkok Flight Services ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ถ้าเรียกเป็นภาษาไทยจะเรียกตำแหน่งนี้ว่า นักบินนั่งโต๊ะ หรือพนักงานอำนวยการบิน คือก่อนที่จะขึ้นบินก็จะต้องมีการสรุปรายละเอียดของงาน มีนักบินหลายๆ คนเข้ามาคุยกันว่าเราจะไปเส้นทางไหน เพื่อที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายให้สายการบิน สภาพอากาศตลอดการเดินทางมีอะไรบ้างที่เราต้องระวัง Flight Dispatcher ต้องแจ้งนักบินไป ตัวเรากับนักบินก็ต้องมาปรึกษากันว่าควรไปเส้นทางไหนถึงจะปลอดภัยที่สุดแล้วก็ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งผมว่าตำแหน่งนี้คนยังไม่ค่อยรู้จัก

จุดเด่นของการเรียนขับครื่องบินเบาพิเศษที่แสตมฟอร์ด
เรียกง่ายๆ คือ เครื่องบินลำเล็ก ระยะเวลาในการเรียนค่อนข้างสั้น มันไม่ได้ใช้เวลาเรียนนานเหมือนกับ Licence CPL คือเราเรียนเรื่องพื้นฐาน เครื่องบินบินอย่างไร ขึ้นอย่างไร เราก็สามารถขับเครื่องบินได้ การเรียน Ground School เราก็เรียนเรื่องเกี่ยวกับการบิน เกี่ยวกับสภาพอากาศ เกี่ยวกับทุกอย่างที่จำเป็นต้องใช้ในการบิน จุดเด่นอันแรกคือ เรื่องค่าใช้จ่ายค่อนข้างที่จะไม่ได้สูงมาก เมื่อเราไปเทียบกับตัว CPL (CPL ย่อมาจาก Commercial Pilot Licence ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี)

การเรียนขับเครื่องบินที่แสตมฟอร์ด ทำให้เรารู้ว่าเราเหมาะหรือเปล่า แต่ถ้าเราเรียนไปแล้วไม่ใช่ตัวเราก็ถอย อย่างน้อยเราก็ได้มีไอเดียทำสิ่งอื่นๆ ยังมีความรู้ติดตัว จุดเด่นอีกอันหนึ่งคือ เราเรียนจบแล้วเราไม่ได้ทำงานเป็นนักบินได้อย่างเดียว เรายังสามารถทำงานอื่นได้ เช่น สามารถเป็น Flight Dispatcher ก็ได้ เพราะทุกครั้งที่เราขึ้นบิน เราก็ต้องติดต่อกับ เจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Controller : ATC) เราต้องทำอะไรเองหมดทุกอย่าง ถ้าเราไม่อยากเป็นนักบิน เราก็มานั่งทำภาคพื้นดินก็ได้ ซึ่งก็เป็นความท้าทายและเป็นอาชีพที่คนไม่ค่อยทำ

Leave a Reply

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes:

<a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>